พอไปถึงวัดพวกเราก็จะแนะนำตัว และสถานที่

ถ่ายหน้าวิหาร ;: บอกประวัติความเป็นมาของวิหาร
ถ่ายรูปของผู้สร้าง ;: บอกประวัติของผู้สร้าง

และเข้าไปภายในวิหารและอธิบายว่าวิหารมีกี่ชั้น
ถ่ายเสา เเละอธิบายว่ามีกี่ต้นและสรางขึ้นเมื่อไหรื่
ตั้งเเต่พ.ศ.อะไร - พ.ศ.อะไร

อธิบายพระประธาานที่แกะสลักด้วยไม้สักท่อนใหญ่
(คราว ๆ นะครับ)

date วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อยากรู้เงินเดือนผู้พิพากษาได้เท่าไรทุกชั้นเงินเดือน แบบชัดๆ ดูได้ที่นี่ เพื่อการตัดสินใจ


เงินเดือนผู้พิพากษาที่ว่าสูง แท้จริงแล้วเป็นเช่นไร

ในการรับเงินเดือนผู้พิพากษา แบ่งเป็นเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่ง จะเห็นว่าผู้พิพากษาในตำแหน่งบริหารกับผู้พิพากษาในชั้นศาลเดียวกันบางตำแหน่งรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่ากัน ซึ่งคนภายนอกไม่ค่อยทราบเท่าไรนัก ส่วนใหญ่เข้าใจผิด ไปคิดเทียบเงินเดือนข้าราชการพลเรือนทั่วไป

ตำแหน่งผู้พิพากษา เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ รายได้อาจสู้ทนายความไม่ได้ แต่พึงต้องภูมิใจในอุดมการณ์นักกฎหมาย รักความเป็นธรรม เชื่อมั่นในหลักกฎหมาย รักสันโดด ไม่กินสินบาทคาดสินบน

ต่อไปนี้คืออัตราเงินเดือนผู้พิพากษา

บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งข้าราชการตุลาการ
ชั้นเงินเดือน ๕
ประธานศาลฎีกา
เงินเดือน ๖๔,๐๐๐ เงินประจำตำแหน่ง๕๐,๐๐๐

ชั้นเงินเดือน ๔
รองประธานศาลฎีกา
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
ผู้พิพากษาศาลฎีกา
ประธานศาลอุทธรณ์
ประธานศาลอุทธรณ์ภาค
รองประธานศาลอุทธรณ์
รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
เงินเดือน ๖๒,๐๐๐ เงินประจำตำแหน่ง ๔๒,๕๐๐


ชั้นเงินเดือน ๓
รองประธานศาลอุทธรณ์

เงินเดือน ๕๙,๐๙๐ เงินประจำตำแหน่ง ๔๑,๕๐๐


รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
อธิบดีผู้พิพากษาภาค
รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
ผ้พิพากษาหัวหน้าศาล
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น
เงินเดือน ๕๗,๑๙๐ เงินประจำตำแหน่ง ๓๐,๐๐๐


ชั้นเงินเดือน ๒
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น

เงินเดือน ๔๔,๙๑๐
๔๐,๗๙๐
๓๔,๖๑๐
๓๐,๘๑๐
๒๗,๑๘๐

เงินประจำตำแหน่ง ๒๓,๓๐๐


ผู้พิพากษาประจําศาล
เงินเดือน ๒๕,๓๗๐
๒๓,๕๗๐
๒๑,๘๐๐

เงินประจำตำแหน่ง
๗,๙๐๐


บัญชีอัตราเงินเดือนผู้ช่วยผู้พิพากษา
อัตรา (บาท/เดือน)
๑๖,๐๒๐
๑๔,๘๕๐

บัญชีอัตราเงินเดือนดะโต๊ะยุติธรรม
อัตรา (บาท/เดือน)
๒๕,๓๗๐
๒๓,๕๗๐
๒๑,๘๐๐

บัญชีอัตราเงินประจําตําแหน่งดะโต๊ะยุติธรรม
อัตรา (บาท/เดือน)
๗,๙๐๐

หมายเหตุ ท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.๒๕๔๓ มีผลบังคับใช้วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๓ (รก. เล่มที่ ๑๑๗ ตอนที่ ๔๔ ก ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓)

date วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553




date

การสอบเข้าเป็นผู้พิพากษาในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา มีวิธีการคัดเลือกอยู่ 3 แบบด้วยกัน โดยแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติในการสอบแตกต่างกันออกไป คือ

การสอบคัดเลือก (สนามใหญ่)

จะมีการเปิดสอบเป็นคราว ๆ ไป โดยสำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจะเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่แจกใบสมัคร ส่งไปตรวจร่างกายและจิตใจ ตรวจสอบคุณสมบัติ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ดำเนินการสอบ ประกาศผลสอบ และบรรจุเข้ารับราชการ

คุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก

ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
4. เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตสภา
5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
6. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
7. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
8. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
9. ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
10. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการหรือ เป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบ ก.ต. และ
11. เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.ต. กำหนด และ ก.ต. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้

หลักฐานในการสมัครสอบ

1. ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต (แสดงต้นฉบับด้วย)
2. ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย ฯ (แสดงต้นฉบับด้วย)
3. สำเนาทะเบียบบ้าน หรือ บัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกัน)(แสดงต้นฉบับด้วย)
4. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย (กรณีเป็นทนายความ ให้นำหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความมายื่นด้วย)
5. ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
6. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 4 รูป (เขียนชื่อ-สกุลด้านหลัง)
7. เงินค่าธรรมเนียมการสอบ 100 บาท
8. เงินค่าตรวจร่างกาย 600 บาท (จ่ายวันไปตรวจร่างกาย)

กรณีเคยสมัครแล้วและมีสิทธิสอบใช้หลักฐานเฉพาะใบสมัครและข้อ 5, 6, 7 และ 8

การสอบคัดเลือก มีการสอบข้อเขียน 3 วัน

วันที่หนึ่ง สอบวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา จำนวน 10 ข้อ เวลา 4 ชม. คะแนนเต็ม 100 คะแนน

วันที่สอง สอบวิชากฎหมายลักษณะพยาน จำนวน 3 ข้อ วิชากฎหมายพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง จำนวน 1 ข้อ และให้เลือกสอบในลักษณะวิชา กฎหมายล้มละลาย กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายปกครอง กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศวิชาใดวิชาหนึ่ง จำนวน 2 ข้อ รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด 6 ข้อ เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 60 คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 10 คะแนน สำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะ วิชาใดในวันสมัครสอบ

วันที่สาม สอบวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน10 ข้อ เวลา 4 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
การสอบปากเปล่า เนื้อหาครอบคลุมลักษณะวิชาที่สอบข้อเขียน ตามแต่คณะ อนุกรรมการสอบฯจะเห็นสมควรกำหนดเวลาประมาณคนละ 15 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน

เกณฑ์ที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ

ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าและต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของคะแนน ทั้งสองอย่างรวมกัน

วิชาชีพทางกฎหมายที่ ก.ต. รับรอง

1. ทนายความ
2. จ่าศาล,รองจ่าศาล
3. ข้าราชการ พนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างส่วนราชการปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
4. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
5. เจ้าพนักงานบังคับคดี
6. พนักงานคุมประพฤติ
7. อัยการ
8. นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ
9.อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
10. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
11.เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ป.ป.ป.
12. ลูกจ้างกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานบังคับคดี
13. นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.)
14.ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
15.พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานในสถาบันการเงินที่ ก.ต.รับรอง ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร

นิติกรในสถาบันการเงินที่ ก.ต. รับรองไปแล้ว

1. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่กฎหมาย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. ตำแหน่งนิติกร ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด (มหาชน)
3. ตำแหน่งเสมียน ธนาคารไทยทนุ จำกัด
4. ตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
5. ตำแหน่งงานนิติกรรม ธนาคารอาคารสงเคราะห์
6. ตำแหน่งนิติกร ธนาคารทหารไทย จำกัด
7. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ฝ่ายกฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์
บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
8. ตำแหน่งนิติกร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ ไฟน์แนนซ์ จำกัด (มหาชน)
9. ตำแหน่งพนักงานชั้นกลาง แผนกธุรกรรมกฎหมาย
10. บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ จำกัด (มหาชน)
11. ตำแหน่งนิติกรธนาคารนครธน จำกัด (มหาชน)
12. เจ้าหน้าที่นิติกรรมสัญญา บริษัท เงินทุนภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
13. ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายกฎหมาย บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์เอ็มซีซี จำกัด (มหาชน)
14. เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
15. นิติกรอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์

date

ผู้ก่อตั้งคณะนิติศาสตร์
ศาสตราจารย์พิเศษ ประสิทธิ์ โฆวิไลกุล
ประวัติ
เกิด :
22 มิถุนายน 2486 (1943)
การศึกษา :
- นิติศาสตร์บัณฑิต LL.B (เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย- นิติศาสตร์มหาบัณฑิต LL.M มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (นิวยอร์ก)สหรัฐอเมริกา- เนติบัณฑิตยไทย- ประกาศนียบัตรการสอบสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยสตราบูร์ก ฝรั่งเศส- ประกาศนียบัตร การประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ สถาบันปฏิรูปที่ดินไต้หวัน ร่วมกับ Lincoln Land Institute, Massachusetts, U.S.A
ประวัติการทำงาน
อดีต :
2519-2521
หัวหน้าภาควิชากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2521-2523
คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2527-2535
คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2526-2527
รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2519-2520
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
2521-2541
กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2538-2539
ที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา)
2538-2540
กรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
2538-2541
กรรมการอำนวยการ สถาบันบริหารธุรกิจศศินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2538-2544
อาจารย์บรรยายวิชา “กฎหมายธุรกิจ” สถาบันบริหารธุรกิจศศิน
2531-2543
กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์
2535-2543
กรรมการควบคุมอาคาร กระทรวงมหาดไทย
2541-2543
กรรมการคณะกรรมการนโยบายธุรกิจประกันภัย กระทรวงพาณิชย์
2545-2546
กรรมการอิสระ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด มหาชน
2545-2546
ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด มหาชน
2545-2547
กรรมการ “คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ”
2541-2544
กรรมการสภาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
2526-2544
กรรมการบริหารสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม
2546-2549
กรรมการ คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
2549
กรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
2534-ปัจจุบัน
กรรมการคณะกรรมการที่ปรึกษาความร่วมมือคดีอาญาระหว่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด
2544-2549
อธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
2547-2549
กรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
2541-2549
กรรมการคณะกรรมการปิโตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน
2543-2549
กรรมการอิสระ บริษัท ป.ต.ท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
2547-2549
กรรมการอิสระ บริษัท ALLIANZE C.P. ประกันภัย จำกัด
2547-2549
กรรมการคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
2543-2549
กรรมการประเมินผลทางวิชาการ สาขานิติศาสตร์ของสำนักงานข้าราชการ กทม.
ปัจจุบัน :
- กรรมการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ
- กรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 7
- ผู้บรรยายสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตย์สภา
- ศาสตราภิชานคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดการทรัพย์สิน สภากาชาดไทย
- กรรมการการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข
- อาจารย์บรรยาย (ปริญญาตรี / โท) คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของแพทยสภา
- กรรมการที่ปรึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศ เรื่องทางอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการธนาคารไทยธนาคาร จำกัด มหาชน (2550)
- กรรมการคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า กระทรวงพาณิชย์ (2550)
งานด้านการเมือง :
• เลขานุการรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย (2519-2520)
• ที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา (2538-2539)
• ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฎร (2539-2539)
• ที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพีรพงศ์ ถนอมพงศ์พันธ์)
• รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (18 พ.ย. 2549-21 พ.ค. 2550)
ตำรา :
• คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย “ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า” สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2538.
• คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย “จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้” สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2539.
• คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย “บุคคล” มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ร่วมกับสำนักพิมพ์นิติธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2543.
• “การตีความกฎหมายประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย” สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2543.
• “เหลียวหลังดูกฎหมายและความยุติธรรม” มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ร่วมกับสำนักพิมพ์นิติธรรม, 2540.
• “ASIAN LEGAL SYSTEM” (Part VI The legal system of Thailand) Butterworths, 1995
• คำอธิบาย ป.พ.พ.ว่าด้วย “นิติบุคคล” (2543) สำนักพิมพ์นิติธรรม
• กฎหมายแพ่งหลักทั่วไป (2546) สำนักพิมพ์นิติธรรม
• กฎหมายศีลธรรมและความรับผิดชอบของนักกฎหมาย (2547) สำนักพิมพ์นิติธรรม
• Good Law and Good Lawyers (ภาษาอังกฤษ) 2001 สำนักพิมพ์นิติธรรม
งานวิจัย :
• รายงานการวิจัย เรื่อง ผลกระทบต่อการค้าบริการจากการเปิดเสรี ภายหลังการเจรจาการค้า หลายฝ่ายของอุรุกวัย สาขาประกันภัย ภายใต้การสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ 2537
• รายงานการศึกษา เรื่อง การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ภายใต้ การสนับสนุนของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2537
• รายงานการศึกษาโครงการ “การศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการจราจรที่ควรปรับปรุง
• รายงานการศึกษาโครงการ “การศึกษากลยุทธในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดผลในทางปฏิบัติ”
• รายงานการศึกษาโครงการ “มาตรการกฎหมายลดอุบัติภัยยานยนต์
ด้านวิชาการอื่นและรางวัลพิเศษ :
• ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ (กรกฎาคม 2548)
• ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นประเภท “ครู” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( 2542)
• ได้รับเลือกเป็นนิสิตเก่า คณะรัฐศาสตร์ดีเด่น (สมาคมนิสิตเก่า คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2545, 2550)
• ได้รับเลือกเป็นนิสิตเก่า คณะนิติศาสตร์ดีเด่น (สมาคมนิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2547)
• ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ภิชาน โดยสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (3 กันยายน 2550)

date วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คณะนิติศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษากฎเกณฑ์ความประพฤติของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคมประเภทหนึ่งที่มีผลบังคับแน่นอน ซึ่งเรียกกันว่ากฎหมาย ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรละที่มิได้เป็นลายลักษณ์อักษร กฎหมายจึงเป็นส่วนสำคัญของสังคมที่กำหนดสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบบทบาทของบุคคลในทุกกิจกรรม และทุกระดับ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยขึ้นในสังคมนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ การศึกษานิติศาสตร์จึงมีสาระสามส่วนหลัก คือ1.นิติศาสตร์จะศึกษาทฤษฎี แนวคิด หลักการเกี่ยวกับสาระของ กฎหมายในส่วนสิทธิหน้าที่และความรับผิดของบุคคลต่อกันตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจทุกประเภท รวมตลอดจนหลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐและหน่วยงานรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ในสังคมนานาชาติ 2.นอกจากนั้น นิติศาสตร์ยังมุ่งศึกษาบทบาทของกฎหมายทั้งในฐานะที่ะเป็นกรอบกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของรัฐมิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนในฐานะที่กฎหมายเป็นเครื่องมือในการนำนโยบายมาปฎิบัติให้ได้ผลจริงจัง ดังนั้น โดยนัยนี้กฎหมายจึงเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง คือ อาจส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาได้ การศึกษานิติศาสตร์จึงให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ปัญหานี้ด้วย 3.นิติศาสตร์ยังให้ความสำคัญต่อคุณค่าเชิงคุณธรรมของกฎหมายย่อมมีขึ้นเพื่อความเป็นธรรม และความสงบเรียบร้อยในสังคม การศึกษานิติศาสตร์จึงเน้นที่กระบวนการของกฎหมายว่าต้อง “ บริสุทธิ์ “ เพื่อความมุ่งหมายสุดท้าย คือ “ ยุติธรรม “ การศึกษาจึงมิได้เน้นเฉพาะตัวบทกฎหมายเพียงประการเดียว แต่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กฎหมายในเชิงคุณธรรมด้วยแนวทางในการประกอบอาชีพ ผู้จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ อาจแบ่งแนวทางในการทำงานได้ 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือ ผู้ซึ่งใช้วิชากฎหมายในการประกอบอาชีพโดยตรง ซึ่งผู้ที่มิได้สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ไม่สามารถประกอบอาชีพเหล่านี้ได้เลย ได้แก่ ผู้พิพากษา อัยการ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นิติกร ฯลฯ กับอีกประเภทหนึ่ง คือ ผู้ซึ่งใช้ความรู้ทางกฎหมายให้เป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ เช่น ตำรวจ ปลัดอำเภอ นักธุรกิจพนักงานบริษัท ห้างร้าน ข้าราชการ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางกฎหมายสามารถที่จะเลือกประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางกว่าสาขาอื่น ๆ เพราะนอกจากจะสามารถประกอบอาชีพที่กันไว้เฉพาะสำหรับนักกฎหมายแล้ว ยังสามารถประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นสามารถประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้อีกด้วย

date

การศึกษานิติศาสตร์
วิชานิติศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา ซึ่งอาจสามารถแบ่งออกได้เป็น
วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (legal science proper) ได้แก่ การศึกษาตัวบทกฎหมายซึ่งเป็นเนื้อหากฎหมาย และนิติวิธีหรือวิธีการใช้กฎหมายเพื่อนำไปใช้ปรับใช้แก่คดีและประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย
นิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง (legal science of facts) เป็นการศึกษากฎหมายในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์หรือในสังคม โดยไม่ประเมินคุณค่าว่าถูกหรือผิด เช่น วิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย และวิชาสังคมวิทยากฎหมาย
นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (legal science of values) เป็นการศึกษากฎหมายในเชิงวิจารณ์เปรียบเทียบและประเมินคุณค่า เช่น วิชากฎหมายเปรียบเทียบ และวิชานิติบัญญัติ
การศึกษากฎหมายในระดับที่มีความสัมพันธ์กับปรัชญา จะถูกเรียกว่าวิชา นิติปรัชญา หรือ philosophy of law
หลักนิติศาสตร์
หลักนิติศาสตร์ (Jurisprudence) คำดังกล่าวในภาษาอังกฤษ เป็นคำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาลาตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก "juris" แปลว่า กฎหมาย และ "prudentium" แปลว่า ความฉลาด ซึ่งรวมแล้วแปลว่า "ความรู้กฎหมายหรือวิชากฎหมาย" โดยในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน จะกล่าวไว้ในมูลบทนิติศาสตร์ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วว่า "jurisprudence is the knowledge of things devine and human; the science of the just and the unjust".
อย่างไรก็ตาม jurisprudence ยังคงมีการใช้ในความหมายพิเศษอีก ได้แก่
Jurisprudence ในภาษาฝรั่งเศส ย่อมาจากคำว่า jurisprudence constant หมายถึง ความรู้กฎหมายที่เกิดจากแนวคำพิพากษาของศาล เป็นคำตรงข้ามกับ doctrine ซึ่งหมายถึง กฎหมายที่สอนในตำรากฎหมาย
Jurisprudence เป็นชื่อวิชาเฉพาะที่สอนในโรงเรียนกฎหมายในอังกฤษ ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดย John Austin เมื่อ ค.ศ. 1828-1832 ในมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งมีคำสอนว่ากฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ และถูกนำเข้ามาในประเทศไทยโดยเสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมา จึงมีการยุบโรงเรียนกฎหมายไปจัดตั้งเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเดิม ไม่พอใจที่ทำไมโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่ทำไมโรงเรียนกฎหมายจึงไม่ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบ้าง ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงรับปากว่าจะช่วย และในที่สุดจึงมีการออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการโอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการโอนไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อันสืบทอดโดยตรงจากโรงเรียนกฎหมายเดิม และเมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งใน คณะรัฐศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515 และมีการก่อตั้ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชน

date วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หน้าเว็บ

minliverpool